Hologram on CNN

ฮอโลแกรม ถูกนำมาใช้รายงานสดโดย CNN

ถ้ายังนึกไม่ออกว่า ฮอโลแกรม คืออะไร แต่ถ้าบอกว่า รู้จักสตาร์วอร์สในฉาก
การปรากฎกายแบบฮอโลแกรมแบบเจ้าหญิงเลอาแห่งสตาร์วอร์ส กำลังสนทนากับลุค
สกายวอล์เกอร์
ตัวเอกของเรื่องผ่านฮอโลแกรม แต่ที่เห็นผ่านหน้าจอครั้งนี้จาก CNN
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา
ซึ่งตรงกับช่วงค่ำวันที่ 4 พ.ย.เวลาสหรัฐฯ คือ
การรายงานผลการเลือกตั้งแบบสดๆ จริงๆ


จากการเขียนบันทึกลงไดอารีออนไลน์ ถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังการเตรียมรายงานข่าวเลือก
ตั้งของซีเอ็นเอ็นก่อนวันจริง
ของ โอลิเวอร์ เบิร์กแมน (Oliver Burkeman) ผู้สื่อข่าว
ของเดอะการ์เดียนแห่งอังกฤษ โดยระบุว่า การรายงานข่าวครั้งนี้
จะเป็นสิ่งที่เยี่ยมที่สุดเท่า
ที่เคยมีมา


เบิร์กแมน ได้กล่าวไว้ก่อนวันยิงเทคโนโลยีจริง ว่า
“แทนที่จะแบ่งหน้าจอสลับคนละครึ่ง ระหว่างห้องส่งกับผู้ที่ถูกสัมภาษณ์อยู่ภาคสนาม
หรือที่อื่นๆ อย่างที่เห็นกันปกติทั่วไป
แต่โฆษกประจำตัวของโอบามาจะปรากฎในลักษณะ
3 มิติผ่านฮอโลแกรม อีกทั้งซีเอ็นเอ็นยังมีแผนสัมภาษณ์ผู้แทนของแมคแคน

ในลักษณะเดียวกันนี้”

เบิร์กแมน อธิบายการเตรียมงานในครั้งนี้ว่า
ซีเอ็นเอ็นได้วางแผนเตรียมกล้องบันทึกภาพวิดีโอความละเอียดสูง 44 ตัว (HD camera)
ประจำไว้ที่ชิคาโกและแอริโซนา
และส่งภาพต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง เพื่อประมวล
ผลให้ได้ภาพผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ออกมา 360 องศา
ส่งถึงห้องส่งในนิวยอร์ก เพื่อให้ผู้ประกาศ
ในห้องส่งสัมภาษณ์


ในขณะที่ กิซโมโด หรือ Gizmodo, the Gadget Guide (www.gizmodo.com) อธิบายว่า
ที่ภาคสนามซึ่งต้องส่งภาพผู้สื่อข่าวหรือผู้ถูกสัมภาษณ์เข้ามา ได้ตั้งกล้องวิดีโอความละเอียดสูง 35 ตัว ล้อมวัตถุ (ซึ่งก็คือเจสซิกาและวิล.ไอ.แอม) ในลักษณะล้อมเป็นวงแหวน

ภาพที่บันทึกได้จะต้องเป็นจากมุมต่างๆ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ได้ภาพร่างกายของบุคคลผู้นั้น
ทั้งหมด
จากนั้น จะส่งภาพทั้งหมดถึงคอมพิวเตอร์ 20 ตัว เพื่อใช้ประมวลผลภาพที่บันทึก
ออกมาให้ได้ 3 มิติ


นักข่าวภาคสนาม
จะได้เห็นภาพของตัวเองผ่าน จอขนาด 37 นิ้ว หลังจากประมวลผลแล้วกลับมา เพื่อให้ได้เห็นภาพของตัวเอง จะได้ตรวจสอบความผิดพลาด อย่างพวกเสื้อผ้าหน้าผม

ส่วนที่ห้องส่งของซีเอ็นเอ็น
ก็ใช้กล้องเพียงแค่ 2 ตัวเพื่อจะบันทึกภาพผู้ประกาศจากห้องส่งออกไปตามปกติ

การรายงานครั้งนี้ จะเหมือนว่าผู้ประกาศในห้องส่งได้คุยกับนักข่าวฮอโลแกรม
แบบตัวต่อตัว เหมือนในสตาร์วอร์แต่แท้จริงแล้ว ผู้ประกาศไม่ได้มองเห็นทั้งเจสซิกา
หรือ วิล.ไอ.แอม เขาก็ยังคงคุยผ่านทางเสียง เหมือนการโฟนอินหรือการสลับหน้าจอปกติ


“ส่วนภาพ 3 มิติจากภาคสนามนั้น ใช้คอมพิวเตอร์จัดการให้อยู๋ในเฟรมเดียวกันกับผู้ประกาศในห้องส่งก่อนนำออกอากาศ”

เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผล โดยรวมภาพจากห้องส่งและจากฮอโลแกรมเข้าด้วยกัน
ก็จะยิงสัญญาณสู่จอทีวีของเรา


     ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งในความพยายามจากแนวคิดแปลกใหม่เล็กๆ ก็สามารถสร้าง
มูลค่าของการรายงานข่าวสดได้อย่างหน้าตื่นตาตื่นใจ
อารมณ์เหมือนกับเราดูภาพยนตร์
ที่เรารู้สึกว่ามันเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เบื้องหลังอาจเป็นแค่ Blue Screen ภาพกราฟฟิก
เทคนิคการถ่ายทำ เทคนิคการตัดต่อภาพ แต่ผลลัพธ์และความต้องการของผู้สร้าง
หรือผู้ทำมันขึ้น เพียงต้องการสื่อสารกับคนดูได้อย่างเหมือนจริงและได้อถรสในการรับชม



ฮอโลกราฟี (holography) หมายถึง
กระบวนการสร้างภาพฮอโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ

แตกต่างจากการสร้างภาพเชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือ
แผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง
ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้ แสงที่มีหน้า
คลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม

จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ  ถ้าจะกล่าวในคำพูดที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้น ก็อาจกล่าวได้ว่า ฮอโลแกรม ก็คือ บันทึกของรูปแบบการแทรกสอดของลำแสง ที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน 2 ลำ

แหล่งข้อมูล
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000131372
http://th.wikipedia.org/wiki/ฮอโลแกรม
http://www.gizmodo.com


การ เลือกตั้ง สหรัฐอเมริกา ผ่าน social network


เลือกตั้ง สหรัฐ กับ 12 เว็บไซต์ Election 2008


คาถาสู่ฝันของโอบามา MySpace-Facebook-Twitter