จะขายอะไรดี อย่าลืมนึกถึงลิขสิทธ์

              ใครจะไปคิดว่า หนังสือที่เราซื้อมาอ่านนั้น จะทำให้เราผิดกฏหมายข้อหาละเมิดลิขสิทธ์ได้ ถ้าเราเอาไปขายต่อบน Internet

             มีนักศึกษาไทยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ถูกยื่นฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากนำตำราเรียน 8 เล่มของตนเองมาประกาศขายผ่านเว็บไซต์อีเบย์ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2553 ทำให้สำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ตำราเรียนยื่นฟ้อง

             ตำราเรียนทั้ง 8 เล่มนี้เป็นตำราเรียนที่ประกาศขายเป็นฉบับตีพิมพ์เพื่อจำหน่ายในเอเชียเท่านั้น และศาลชั้นต้นสหรัฐฯ ได้สั่งให้นักศึกษาไทยจ่ายเงิน 600,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 18 ล้านบาท) เป็นค่าเสียหายแก่สำนักพิมพ์ ศาลอุทธรณ์ยืนคำตัดสินของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้คดีถูกส่งต่อมายังศาลสูงสุดเพื่อขอคำตัดสินขั้นชี้ขาด

             สำหรับในประเทศไทย ยกตัวอย่างกรณีที่เราขายสินค้า เสื้อผ้า ที่มีลิขสิทธิ์  โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์  ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ย่อมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  ซึ่ง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537  มาตรา 31  ได้กำหนดไว้ว่าผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น  ถ้าผู้นั้นได้ขาย  มีไว้เพื่อขาย  เสนอขาย ให้เช่า  เสนอให้เช่า  ให้เช่าซื้อ  หรือเสนอให้เช่าซื้อแก่งานนั้น  เพื่อหากำไร  ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์

             เพราะฉนั้นก่อนจะขายอะไรคิดให้ดีๆ ก่อนครับ ยิ่งถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมผู้ซื้อมากเท่าไหร่เราก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เช่น ผู้ซื้อส่วนใหญ่ซื้อสินค้าออนไลน์เนื่องจาก

ราคา (สินค้ามีราคาถูกกว่าช่องทางอื่น)
มีสินค้าที่ต้องการ (บนออนไลน์มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย สินค้าบางอย่างอาจจะหาซื้อไม่ได้จากร้านค้าทั่วไป)
ความสะดวกสบาย (ปัจจุบันสามารถสั่งซื้อสินค้าได้จากทุกทีทุกเวลา และการจัดส่งสินค้าทำได้ง่ายกว่าสมัยก่อน)

แหล่งที่มา
หนังสื่อพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/oversea/253809
อีเบย์ประเทศไทย    http://www.ebay.co.th