กูเกิล AdSense เปิดบริการให้เว็บไทยแล้ว

Google AdSense เพื่อเว็บของคนไทยเปิดตัวแล้ว (ก.ย. 2551)

      หลังจากรอกันมานานหลายปี ในที่สุด Google ได้เปิดตัว Google AdSense
สนับสนุนการแสดงโฆษณาจาก Google AdWords ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาบนหน้าเว็บที่เป็นภาษาไทย (AdSense for Content สำหรับประเทศไทย) จากเดิมที่ให้เฉพาะเว็บที่แสดงภาษาอังกฤษเท่านั้น

         ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาภาษาไทยสามารถสร้างรายเพิ่มได้อีกช่องทางหนึ่ง
นอกเหนือจากการติด Banner ทั้งไทยและต่างประเทศ หรือการติด Affiliate ต่างๆ


http://www.vaughns-1-pagers.com

          จากภาพด้านบนคงทราบว่ากระบวนการทำงานจริงๆ แล้ว มันมีขั้นตอนต่างๆ มากมาย (ปัจจุบันขั้นตอนอาจจะมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตอบสนองในการนำเอาโฆษณามาแสดงให้เข้ากับเนื้อหาของแต่ละภาษา) แต่จะอธิบายแบบง่ายๆ มีดังต่อไปนี้
    
ผู้ลงโฆษณา --> Google Adwords -->  Google AdSense --> Web Publisher
 

         ที่มาของโฆษณาที่แสดงใน Google AdSense ที่เราเอามาติดที่เว็บไซต์ของเรานั้นมาจาก ผู้ลงโฆษณาใน Google Adwords นั้นเอง เพราะ Google AdSense จะทำการพิจารณาเนื้อหาในเว็บไซต์ของเรา เพื่อที่จะแสดงโฆษณาให้เข้ากับเนื้อหาของเราให้มากที่สุด

         ผู้ลงโฆษณาจะเสียค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีคนคลิกโฆษณาของตน ผ่าน Google AdSense และระบบอื่นๆ ของ Google ตาม Keyword ที่ใส่ค่า Bid ลงไป ถ้าเป็น Keyword ที่มีผู้ลงโฆษณาด้วยกันสนใจมาก ก็จะทำให้ Keyword นั้นๆ จะมีราคา Bid ที่สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน

         ในทางกลับกัน เราจะมี Google AdSense ที่เว็บไซต์เราได้อย่างไร
 
    เจ้าของเว็บไซต์ --> Google AdSense  —> นำ Code มาติดใน Website

        เพียงเราลงทะเบียนเป็นสมาชิกใน Google AdSense และเลือกรูปแบบการแสดงโฆษณา ที่ให้เข้ากับรูปแบบเว็บไซต์ของเราให้มากที่สุด เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของเราก็สามารถสร้างรายให้กับเราได้แล้ว

        เนื่องจากเมื่อผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เกิดสนใน Google AdSense ที่เราติดไว้ แล้วคลิกโฆษณานั้น เราก็จะได้รับค่าโฆษณาจาก Google แล้ว จะได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับ Keyword ในเนื้อหาของเว็บไซต์ของเรา ประกอบกับค่าลงโฆษณาจากผู้ลงโฆษณาใน Google Adwords นั้นเอง

       สำหรับคนในวงการ eBusiness หรือ ในแวดวงคนทำเว็บไซต์ คงทราบดีว่า ทำไม Google AdSense ถึงไม่สนับสนุนเนื้อหาของเว็บไซต์ไทยตั้งแต่แรก

       แน่นอนว่าเริ่มแรกอาจเป็นเหตุผลทางด้านธุรกิจ และข้อจำกัดทางด้านเทคนิคที่สนับสนุนเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ระยะต่อมาก็ได้พัฒนาให้สนับสนุนภาษาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ยกเว้นภาษาไทย เหตุผมข้อหนึ่งที่ไม่สนุนเว็บไซต์ไทยในระยะแรก นั้นก็คือ การทำ Spam จากผู้ใช้คนไทย ที่ติดอันดับต้นๆ ใน Black List ของ Google นั้นเอง

       ฉนั้นเมื่อเราได้รับโอกาสที่ดีและเป็นอีกก้าวหนึ่งของวงการ eBusiness และการสร้างเว็บไซต์ของคนไทยแล้ว คงต้องขอความร่วมมือคนไทยทุกคนให้รักษาโอกาสอันดีนี้ไว้ให้ได้นานที่สุด เพราะ ถ้าเกิดเหตุการ Spam จากคนไทยเพิ่มมากขึ้น Google คงได้มาแบนคนไทยและเว็บไซต์ไทยกันอีกรอบ ขายหน้ากันทั้งประเทศ และในที่สุด ก็อาจจะยกเลิกบริการต่างๆ ได้