มีการขาดการว่า จะเกิดภัยคุกคามในรูปแบบที่ เรียกว่า Zombie หรือ “ผีดิบซอฟต์แวร์” จำนวนมาก ภัยที่ถูกเรียกรวมว่า Botnet นี้ เชื่อว่าจะแพร่กระจายทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้นในอนาคต
บริษัท โกลบอล เทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด
ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านระบบป้องกันภัยคุกคามบน
ระบบเครือข่าย สารสนเทศ ในนาม “SRAN” (Security Revolution Analysis Network)
ได้ประกาศแนวโน้มภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2552
ซึ่งจะนำไปสู่ 8 แนวโน้มเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัย
1. เทคโนโลยี Two-Factor Authentication ปัจจุบันการระบุตัวตนในโลกอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใช้เพียง username และ password ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่มิจฉาชีพอาจขโมยข้อมูลและปลอมตัวเพื่อแสวงประโยชน์ได้ (Identity Threat) เทคโนโลยีนี้จึงมีแนวโน้มเข้ามาอุดช่องโหว่ ด้วยการใช้ Token หรือ Smart card ID เข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มปัจจัยในการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งมีความจำเป็นโดยเฉพาะกับการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และธุรกิจ E-Commerce
2. เทคโนโลยี Single Sign On (SSO) เข้าระบบต่างๆ ด้วยรายชื่อเดียว โดยเชื่อมทุกแอปพลิเคชันเข้าด้วยกัน ซึ่งมีความจำเป็นมากในยุค Social Networking ช่วยให้เราไม่ต้องจำ username / password จำนวนมาก สำหรับอีเมล์, chat, web page รวมไปถึงการใช้บริการ Wi-Fi / Bluetooth / WiMAX / 3G / 802.15.4 สำหรับผู้ให้บริการ เป็นต้น
3. เทคโนโลยี Cloud Computing เมื่อมีการเก็บข้อมูลและใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ มากขึ้นตามการขยายตัวของระบบงานไอที ส่งผลให้เครื่องแม่ข่ายต้องประมวลผลการทำงานขนาดใหญ่ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงมีแนวคิดเทคโนโลยี Clustering เพื่อแชร์ทรัพยากรการประมวลผลที่ทำงานพร้อมกันหลายเครื่องได้ เมื่อนำแอปพลิเคชันมาใช้ร่วมกับเทคนิคนี้ รวมเรียกว่า Cloud Computing ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปราศจากข้อจำกัดทางกายภาพ เข้าสู่ยุคโลกเสมือนจริงทางคอมพิวเตอร์ (visualization) ทั้งยังช่วยลดทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถือเป็นไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green IT) อีกด้วย
4. เทคโนโลยี Information Security Compliance Law โลกไอทีเจริญเติบโตไม่หยุดนิ่ง ด้วยมาตรฐานที่หลากหลาย โดยเฉพาะในด้านระบบความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ จึงมีแนวโน้มจัดมาตรฐานเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับความปลอดภัยข้อมูลในองค์กร โดยนำ Log ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานมาจัดเปรียบเทียบตามมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO27001 สำหรับความปลอดภัยในองค์กร, PCI / DSS สำหรับการทำธุรกรรมการเงิน , HIPAA สำหรับธุรกิจโรงพยาบาล หรือ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มีเป้าหมายเพื่อสืบหาผู้กระทำความผิดด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5. เทคโนโลยี Wi-Fi Mesh Connection การใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายที่แพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งต้องเชื่อมโยงผ่าน Access Point นั้น สามารถเชื่อมต่อแบบ Mesh (ตาข่าย) เพื่อเข้าถึงโลกออนไลน์ได้สะดวกขึ้น ผู้ให้บริการ Wi-Fi จึงมีแนวโน้มใช้แอปพลิเคชันในการเก็บบันทึกการใช้งานผู้ใช้ (Accounting Billing) และนำระบบ NIDS (Network Intrusion Detection System) มาใช้ เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกหลากรูปแบบ เช่น การดักข้อมูล, การ crack ค่า wireless เพื่อเข้าถึงระบบ หรือปลอมตัวเป็นบุคคลอื่นโดยมิชอบ เป็นต้น
6. เทคโนโลยีป้องกันทางเกตเวย์แบบรวมศูนย์ (Unified Threat Management) ถึงแม้เทคโนโลยีนี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ก็ยังต้องกล่าวถึงเนื่องจากธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มเป็น SME มากขึ้น และเทคโนโลยีนี้ถือได้ว่ามีประโยชน์กับธุรกิจขนาดเล็ก เพราะผนวกการป้องกันในรูปแบบ Firewall / Gateway, เทคโนโลยีป้องกันข้อมูลขยะ (Spam) การโจมตีของ Malware/virus/worm รวมถึงการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม (Content filtering) รวมอยู่ในอุปกรณ์เดียว
7. เทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึก (Network Forensics) การกลายพันธุ์ของ Virus/worm computer ทำให้ยากแก่การตรวจจับด้วยเทคนิคเดิม รวมถึงพนักงานในองค์กรมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ทักษะไปในทางที่ไม่เหมาะสม หรือเรียกได้ว่าเป็น “Insider hacker” การมีเทคโนโลยีเฝ้าระวังเชิงลึกจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจจับสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นผ่านระบบเครือข่าย เพื่อใช้ในการพิสูจน์หาหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการดำเนินคดี
8. เทคโนโลยี Load Balancing Switch สำหรับ Core Network เพื่อใช้ในการป้องกันการสูญหายของข้อมูล (Data loss) โดยเฉพาะในอนาคตที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายจะสูงขึ้น เทคโนโลยีนี้จะช่วยกระจายโหลดไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัยอื่นๆ ได้ เช่น Network Firewall หรือ Network Security Monitoring และอื่นๆ โดยไม่ทำให้ข้อมูลสูญหาย
โกลบอลเทคโนโลยีฯ ย้ำด้วยว่าปัจจุบันแฮกเกอร์ไม่ได้มีเป้าหมายเจาะ
ระบบเครือข่ายธนาคาร หรือผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์เท่านั้น แต่ได้เปลี่ยนเป้าหมาย
เป็นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายกว่าแทน โดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องมือ
แหล่งที่มา
www.gbtech.co.th
แนวโน้มภัยคุกคามไอทีปี 2552