สมัยก่อน (เน้นจำนวน Fan Page: เชิงปริมาณ)
เจ้าของ Facebook page หรือ เจ้าของ Brand ที่เปิด Facebook page
จะสนใจ จำนวน Fan (คนกด ถูกใจหน้า Facebook page) เป็นหลัก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ ถ้ายิ่งมี แฟนเพจ ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี
วิธีการทำให้ถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จนี้เลยหนี้ไม่พ้น
กิจกรรม ลด แลก แจก แถม โดยมีเงื่อนไขต้อง กด Like (ถูกใจหน้า Facebook page)
คำถาม คือ การมีแฟนเพจมากๆ
แสดงว่า แฟนๆ เหล่านั้นชอบและอยากติดตามแบรนด์นั้นๆ จริงๆ หรือเปล่า ?
ต่อมา facebook เปิดตัว Talk about this
จุดเปลี่ยนที่ทำให้การวัดความสำเร็จของ Facebook page เปลี่ยนไป
ทำให้คำถามเกี่ยวกับ แฟนเพจ ที่ติดตามแบรนด์เหล่านั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ (Talk about this) คือ
ตัวเลขที่บอกจำนวนของแฟจเพจ ที่มีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์
โดยมีความเชื่อกันว่า (ในเชิงปรมาณ)
จำนวนตัวเลขมากๆ ยิ่งดี… จริงหรือเปล่า ?
ทำให้เจ้าของ Facebook page หรือ เจ้าของ Brand สนใจสิ่งนี้ (เริ่มเน้นเชิงคุณภาพ)
มากกว่าสนใจแค่ปริมาณจำนวน Fan เพียงอย่างเดียว เพราะรู้ว่าแฟนที่กดถูกใจเราจำนวนไม่น้อย
ไม่ได้สนใจหรือมีส่วนรวมกับสิ่งที่ เจ้าของ (แบรนด์) กำลังสื่อสารบน Facebook page เลย
ดังนั้น Facebook Talk about this (คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้) จึงเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จตัวใหม่
และ เจ้าของ Facebook page หรือ แบรนด์ เกิดความเชื่อว่า…
ถ้า แฟนเพจ มีปฎิสัมพันธ์ (กด Like, Comment หรือ Post) กับสิ่งที่ facebook page สื่อสาร (Active Fan)
จะต่อยอดจนกลายเป็น ลูกค้าที่มีศักยภาพ มีกำลังซื้อ (Potential Customer)
จนกลายเป็น ลูกค้าชั้นดี แฟนพันธ์แท้ จงรักภักดีกับแบรนด์ (Loyalty Customer) ต่อไปก็เป็นได้
ตัวชี้วัดความสำเร็จใหม่ คือ ตัวเลข คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ (Talk about this) ยิ่งมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งดี
วิธีการทำให้ถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จ แบบทั่วๆไป ก็คือ
สื่อสารคอนเทนต์ รูปน่ารักๆ ละครหลังข่าว ข่าวที่กำลังเป็นกระแส
สิ่งที่คนกำลังพูดกันในสังคม หรือโลก Online (Social Media)
ตัวเลข คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ (Talk about this) มากๆ เป็น
ปฏิสัมพันธ์ ที่แฟนๆ มีการโต้ตอบกับแบรนด์
แต่จะมากน้อยแค่ไหน จะเป็นในแง่บอกหรือลบ
และที่โต้ตอบกับแบรด์มันเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับแบรนด์หรือไม่
ต้องวิเคราะห์ลงรายละเอียดเพิ่มเติม…
สรุป การมีตัวเลข Facebook Talk about this (คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้)
1. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์อีกตัวหนึ่ง สำหรับนักการตลาดหรือผู้บริหาร
2. สามารถวัดผล ดูทิศทาง และพัฒนาการของ Facebook page
3. บอกถึง “ปฏิสัมพันธ์” ที่แฟนมีต่อแบรนด์ (มากหรือน้อยต้องวิเคราะห์ต่อ)
แหล่งข้อมูล
http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=96260